วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ความหมายคอมพิวเตอร์

หัวข้อ : ความหมายคอมพิวเตอร์




คอมพิวเตอร์ (Computer) เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้รับข้อมูล หรือรับคำสั่ง แล้วนำข้อมูลคำสั่งต่างๆไป เก็บบันทึก ไว้ในหน่วยความจำ และประมวลผลข้อมูลโดยการคำนวณ หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลตามคำสั่ง จากนั้นจึงแสดงผลข้อมูลออกมาให้เห็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อมูลคำสั่ง และผลที่ได้จากการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถเก็บบันทึกไว้ได้อย่างถาวร นำมาใช้หรือปรับปรุงแก้ไขพัฒนาได้อย่างไม่จำกัด Computer มาจากคำว่า Compute ซึ่งแปลว่า คำนวณ ดังนั้นคำว่า Computer จึงแปลตามความหมายของคำได้ว่า "นักคำนวณ" ระบบของคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย หน่วยที่ทำหน้าที่ต่างๆ ได้แก่
1. หน่วยรับข้อมูล (input)
2. หน่วยประมวลผลกลาง (central processing unit หรือ CPU)
3. หน่วยแสดงผล (output)
4. หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (secondary storage unit)
1 หน่วยรับข้อมูลเข้า(input) ทำหน้าที่รับข้อมูลต่างๆ ที่ผู้ใช้เครื่องป้อนเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่ง อาจป้อนได้หลายวิธี เช่น บัตรเจาะรู บัตรระบาย สัญญาณจากเทปแม่เหล็ก สัญญาณจากแป้นพิมพ์ (keyboard) เม้าส์ (Mouse) Scanner หรือแม้แต่สัญญาณจากเสียงพูด
2 หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) ) เป็นศูนย์กลางควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งหมด โดยนำข้อมูลมาจากหน่วยรัยข้อมูลคำสั่ง มาทำการประมวลผลตามคำสั่ง แล้วส่งผลลัพธ์ที่ได้ออกไปที่หน่วยความจำเพื่อส่งต่อไปยังหน่วยแสดงผล หน่วยประมวลผลกลางประกอบด้วยส่วนย่อยที่สำคัญ 3 ส่วนคือ หน่วยควบคุม (Contorl Unit) หน่วยคำนวณ และตรรก (Arithmetic and Logic Unit) และหน่วยความจำ (Memory หรือ Storage Unit) หน่วยความจำ หรือหน่วยเก็บข้อมูลหลัก เป็นส่วนที่จะเก็บคำสั่งโปรแกรม และข้อมูลที่ต้องใช้ มีอยู่ 2 ประเภท คือ รอม (ROM : Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำที่สร้างมาพร้อมกับเครื่องโดยจะเก็บคำสั่งเฉพาะงาน และคำสั่งที่ต้องใช้อยู่เป็นประจำเอาไว้ ความจำนี้จะอ่านได้อย่างเดียว ไม่อาจไปเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ และเป็นความจำที่มีอยู่อย่างถาวร แม้จะปิดเครื่องคำสั่งนี้ก็จะไม่หายหรือถูกลบไป แรม (RAM :Random Access Memory) เป็นหน่วยความจำที่ใช้ในการจดจำข้อมูล และคำสั่งขณะที่เครื่องทำงาน ส่วนนี้สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลหรือคำสั่งต่างๆ ได้ตลอดเวลาในขณะที่เครื่องยังเปิดอยู่ แต่เมื่อปิดเครื่องแล้ว ข้อมูลหรือโปรแกรมที่เก็บไว้ในส่วนนี้จะหายไป โดยปกติ ขนาดของ RAM จะใช้อ้างถึงขนาดความจำของคอมพิวเตอร์ด้วย ซึ่งจะมีขนาดแตกต่างกันออกไป หน่วยความจำชนิดนี้บางครั้งก็เรียกว่า Read Write Memory หมายความว่า สามารถทั้งอ่าน และบันทึกได้ ขนาดของแรมเรียกเป็น ไบท์(byte) เช่น 64 Kbytes 4 Mbytes1 bytes = 1 ตัวอักษร 64 Kbytes จึงเท่ากับ 64 x 1,024 = 65,536 ตัวอักษร
3 หน่วยแสดงผล (output unit) ทำหน้าที่นำผลลัพธ์ที่ได้ จากหน่วยความจำมาแสดงตามที่ผู้ใช้ต้องการ อุปกรณ์ แสดงผล ได้แก่ จอภาพ Printer Plotter ฯลฯ ซึ่งถือว่าจอภาพ เป็นอุปกรณ์แสดงผลมาตรฐาน อุปกรณ์แสดงผลที่ใช้กันมากอีกอย่างหนึ่งคือ เครื่องพิมพ์ และยังมีอุปกรณ์แสดงผลอื่นๆ ขึ้นอยู่กับว่าจะนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ในงานใด
4 หน่วยความจำสำรอง (secondary storage) หน่วยความจำนี้เปรียบเสมือนสมุดบันทึกสำหรับเก็บโปรแกรม และข้อมูลเพื่อไว้ใช้ในโอกาสต่อไป หน่วยความจำหลักที่กล่าวมาแล้วนั้น มีขีดจำกัดในการเก็บข้อมูล แต่มีข้อดีตรงเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้การอ่าน และบันทึกโปรแกรมเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว แต่การใช้คอมพิวเตอร์ ในบางครั้งจำเป็นต้องใช้ข้อมูลจำนวนมากเกินกว่าจะบรรจุไว้ในหน่วยความจำหลักได้ จึงจำเป็นต้องเก็บโปรแกรม และข้อมูลไว้ในหน่วยความจำสำรอง อันจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการจดจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ หน่วยความจำประเภทนี้ ได้แก่ แผ่นบันทึกข้อมูล (diskette) เทปแม่เหล็ก(magnetic tap) ส่วนประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ 1 ตัวเครื่อง เป็นกล่องที่บรรจุหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) disk) ที่ด้านหน้าตัวเครื่องจะมีช่องสำหรับสอดใส่แผ่นดิสก์ เรียกว่าดิสก์ไดรฟ์ (disk drive) เครื่องโดยทั่วไปจะมีช่องที่ใช้กับแผ่นดิสก์ 1-2 ช่อง ช่องแรกเรียกว่าช่อง A: อีกช่องที่เหลือเรียกว่าช่อง B: บางเครื่องจะมีจานแม่เหล็กที่เก็บข้อมูลได้มากอยู่ในตัวเครื่องเอาไว้เรียบร้อย เรียกว่าฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) หรือช่อง C: เครื่องที่มีฮาร์ดดิสก์อยู่ในตัวจึงสามารถเก็บข้อมูลต่าง ๆ ลงในฮาร์ดดิสก์ได้โดยไม่ต้องใช้แผ่น Floppy disk ก็ได้ 2 แป้นพิมพ์ (key board) เป็นอุปกรณ์สำหรับเก็บข้อมูลเข้าสู่ CPU โดยการกดแป้นพิมพ์ คล้ายกับการพิมพ์ดีด แต่ที่แป้นพิมพ์ของคอมพิวเตอร์จะมีปุ่มแป้นพิมพ์สำหรับพิมพ์อักขระต่างๆ และควบคุมการทำงานของระบบ มากกว่าพิมพ์ดีด 3 จอภาพ (Monitor) ทำหน้าที่แสดงผล ให้เห็นได้ทันทีทันใด เป็นอุปกรณ์พื้นฐานหลักที่ขาดไม่ได้ มีอยู่หลายแบบ เช่น จอ monochrome จอ mono VGA จอสี เช่น CGA EGA โปรแกรมต่างๆ ที่นำมาใช้ จะสามารถใช้ได้หรือไม่ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของจอภาพด้วย หากจอภาพไม่ตรงกับที่โปรแกรมกำหนดก็ไม่สามารถใช้ได้
ประเภทของคอมพิวเตอร์
จำแนกตามขนาดของเครื่อง
1. ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (super computer) มีขนาดใหญ่ มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง และมีความสลับซับซ้อน
2. เมนเฟรม (mainframe) เป็นขนาดรองลงมา มีแผงควบคุมและอุปกรณ์อื่นๆ สนับสนุน เช่น เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก และมีสายเคเบิลต่อถึงกัน ปัจจุบันมีใช้อยู่ในประเทศไทยหลายแห่ง เช่น ตามธนาคารต่างๆ
3. มินิคอมพิวเตอร์ (mini computer) เป็นขนาดรองลงมาจากเมนเฟรม มีใช้กันตามหน่วยงานขนาดกลาง 4. ไมโครคอมพิวเตอร์ (micro computer) หรืออาจเรียกว่า home computer ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมกันในปัจจุบัน แบ่งเป็น 2 แบบ คือ แบบตั้งโต๊ะ และแบบกระเป๋าหิ้ว โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Solftware) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หมายถึงชุดคำสั่งที่ ผู้เขียนโปรแกรม(Programer) เขียนขึ้นเพื่อป้อนให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ตามที่ต้องการอย่างใดอย่างหนึ่ง
โปรแกรมคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1 โปรแกรมระบบปฎิบัติการ (Operating System Program) เป็นโปรแกรมสำหรับจัดระบบให้เครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ให้สภาพที่พร้อมจะใช้งาน หรือใช้โปรแกรมประยุกต์ต่างๆได้ โปรแกรมระบบปฏิบัติการที่ใช้กันมาก มีอยู่ 2 โปรแกรม คือ โปรแกรม DOS (Disk Operating System) และโปรแกรม WINDOWS การใช้งานโปรแกรมต่างๆ บน DOS โดยทั่วไป ผู้ใช้จะต้องป้อนคำสั่งทาง Keyboard โดยพิมพ์ตัวอักษร ตัวเลข หรือสัญลักษณ์ ต่างๆเข้าไป คอมพิวเตอร์จึงจะทำงานได้ ดังนั่นผู้ใช้จำเป็นต้องรู้คำสั่ง และความหมายของคำสั่งต่างๆ ที่จะป้อนเข้าไป ส่วนการใช้งานโปรแกรมต่างๆ บน WINDOWS จะใช้รูปภาพและสัญลักษณ์ เป็นตัวสื่อความหมาย การใช้งาน ผู้ใช้เพียงแต่ เลื่อน Mouse ไปยังตำหแน่งรูปภาพ หรือสัญลักษณ์ที่ต้องการ แล้วกดปุ่มเลือกให้เกิดการทำงานต่างๆ โดยไม่จำเป็นต้องป้อนคำสั่งทาง Keyboard ซึ่งนับว่าเป็นวิธีการใช้คอมพิวเตอร์ที่สะดวกสบายมาก เด็กหรือผู้อ่านหนังไม่ออกก็สามารถใช้งานได้
2 โปรแกรมใช้งานหรือโปรแกรมประยุกต์ ( Application Program) เป็นโปรแกรมสำหรับใช้ให้คอมพิวเตอร์ทำงานในลักษณะต่างๆได้ โปรแกรมประเภทนี้ มีอยู่เป็นจำนวนมาก
จำแนกตามลักษณะงานได้ดังนี้
2.1 โปรแกรมประมวลคำ(Word Processing) ได้แก่โปรแกรมสำหรับการพิมพ์ หนังสือหรือเอกสารต่างๆ เช่น เวิร์ดจุฬา ( CW ) เวิร์ดราชวิถี ( RW ) Microsoft Word Amipro เป็นต้น
2.2 โปรแกรมฐานข้อมูล (Database) ได้แก่โปรแกรมสำหรับจัดการข้อมูล ในลักษณะที่เป็นระเบียนบันทึกรายการจำนวนมากๆ ข้อมูลเกี่ยวกับนักศึกษา ข้อมูลเกี่ยวกับ วัสดุ ครุภัณฑ์ เช่น โปรแกรม Dbase III Plus Foxbase Foxpro เป็นต้น
2.3 โปรแกรมกระดาษทำการ(Spread Sheet) ได้แก่โปรแกรมสำหรับ บันทึกรายการในลักษณะเป็นตาราง ที่สามารถคำนวณรายการ และโยกย้ายเปลี่ยนแปลงได้ง่าย เช่น โปรแกรม Lotus Exell เป็นต้น 2.4 โปรแกรมกราฟิค (Graphic) สำหรับการออกแบบ เขียนแบบ เขียนภาพ สร้างภาพต่างๆ เช่น โปรแกรม 3D Corell Draw เป็นต้น

แหล่งที่มา:
1. http://www.j-com.is.in.th/?md=content&ma=show&id=2
2. http://entertain.tidtam.com/data/12/0001-1.html

วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2552

เครือข่ายคอมพิวเตอร์




เครือข่ายคอมพิวเตอร์

การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทและความสำคัญเพิ่มขึ้น เพราะไมโครคอมพิวเตอร์ได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกับเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของระบบให้สูงขึ้น เพิ่มการใช้งานด้านต่าง ๆ และลดต้นทุนระบบโดยรวมลง มีการแบ่งใช้งานอุปกรณ์และข้อมูลต่าง ๆ ตลอดจนสามารถทำงานร่วมกันได้

สิ่งสำคัญที่ทำให้ระบบข้อมูลมีขีดความสามารถเพิ่มขึ้น คือ การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกัน และการเชื่อมต่อหรือการสื่อสาร การโอนย้ายข้อมูลหมายถึงการนำข้อมูลมาแบ่งกันใช้งาน หรือการนำข้อมูลไปใช้ประมวลผลในลักษณะแบ่งกันใช้ทรัพยากร เช่น แบ่งกันใช้ซีพียู แบ่งกันใช้ฮาร์ดดิสก์ แบ่งกันใช้โปรแกรม และแบ่งกันใช้อุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีราคาแพงหรือไม่สามารถจัดหาให้ทุกคนได้ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่ายจึงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานให้กว้างขวางและมากขึ้นจากเดิม
การเชื่อมต่อในความหมายของระบบเครือข่ายท้องถิ่น ไม่ได้จำกัดอยู่ที่การเชื่อมต่อระหว่างเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ แต่ยังรวมไปถึงการเชื่อมต่ออุปกรณ์รอบข้าง เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำให้การทำงานเฉพาะมีขอบเขตกว้างขวางยิ่งขึ้น มีการใช้เครื่องบริการแฟ้มข้อมูลเป็นที่เก็บรวบควมแฟ้มข้อมูลต่างๆ มีการทำฐานข้อมูลกลาง มีหน่วยจัดการระบบสือสารหน่วยบริการใช้เครื่องพิมพ์ หน่วยบริการการใช้ซีดี หน่วยบริการปลายทาง และอุปกรณ์ประกอบสำหรับต่อเข้าในระบบเครือข่ายเพื่อจะทำงานเฉพาะเจาะจงอย่างใดอย่าหนึ่ง ในรูป เป็นตัวอย่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่จัดกลุ่มเชื่อมโยงเป็นระบบ
ตัวอย่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่จัดกลุ่มอุปกรณ์รอบข้างเชื่อมโยงเป็นระบบ
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ก่อให้เกิดความสามารถในการปฎิบัติการร่วมกัน ซึ่งหมายถึงการให้อุปกรณ์ทุกชิ้นที่ต่ออยู่บนเครือข่ายทำงานร่วมกันได้ทั้งหมดในลักษณะที่ประสานรวมกัน โดยผู้ใช้เห็นเสมือนใช้งานในอุปกรณ์เดียวกัน จึงเป็นวิธีการในการนำเอาอุปกรณ์ต่างชนิดจำนวนมาก มารวมกันเป็นเสมือนระบบเดียวกัน ทั้ง ๆ ที่อุปกรณ์เหล่านั้นอาจจะมาจากต่างยี่ห้อ ต่างบริษัท ก็ได้


--------------------------------------------------------------------------------
ความหมายของระบบเครือข่าย
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) หมายถึงการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน โดยอาศัยช่องทางการสื่อสารข้อมูล เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอรและการใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกัน (Shared Resource) ในเครือข่ายนั้น
รูปแสดงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีองค์ประกอบที่สำคัญ เพื่อการเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ได้แก่ คอมพิวเตอร์แม่ข่าย (File Server) ช่องทางการสื่อสาร (Communication Chanel) สถานีงาน (Workstation or Terminal) และ อุปกรณ์ในเครือข่าย (Network Operation System)
คอมพิวเตอร์แม่ข่าย คอมพิวเตอร์แม่ข่าย หมายถึงคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการทรัพยากร (Resources) ต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ หน่วยประมวลผล หน่วยความจำ หน่วยความจำสำรอง ฐานข้อมูล และ โปรแกรมต่าง ๆ เป็นต้น ในระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) มักเรียกว่าคอมพิวเตอร์แม่ข่าย ในระบบเครือข่ายระยะไกล ที่ใช้เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ หรือ มินิคอมพิวเตอร์เป็นศูนย์กลางของเครือข่าย เรานิยมเรียกว่า
Host Computer และเรียกเครื่องที่รอรับบริการว่าลูกข่ายหรือสถานีงาน
ช่องทางการสื่อสาร
ช่องทางการสื่อสาร หมายถึง สื่อกลางหรือเส้นทางที่ใช้เป็นทางผ่าน ในการรับส่งข้อมูล ระหว่างผู้รับ (Receiver) และผู้ส่งข้อมูล (Transmitter) ปัจจุบันมีช่องทางการสื่อสาร สำหรับการเชื่อมต่อเครือข่าย คอมพิวเตอร์มีหลายประเภทคือ สายโทรศัพท์แบบสายคู่ตีเกลียวไม่มีฉนวนหุ้ม (UTP) สายคู่ตีเกลียว แบบมีฉนวนหุ้ม (STP) สายโคแอคเชียล สายใยแก้วนำแสง คลื่นไมโครเวป และดาวเทียม เป็นต้น
รูปแสดงช่องทางการสื่อสารโดยใช้จานรับดาวเทียม
สถานีงานสถานีงาน (Workstation or Terminal) หมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อ กับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่เป็นสถานีปลายทางหรือสถานีงาน ที่ได้รับการบริการจากเครื่อง คอมพิวเตอร์แม่ข่าย เรียกว่าเป็นคอมพิวเตอร์ลูกข่าย (Workstation) ในระบบเครือข่ายระยะใกล้ มักมีหน่วยประมวลผล หรือซีพียูของตนเอง ในระบบที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรม เป็นศูนย์กลาง เรียกสถานีปลายทางว่าเทอร์มินอล (Terminal) ประกอบด้วยจอภาพและแป้นพิมพ์เท่านั้น ไม่มีหน่วยประมวลกลางของตัวเอง ต้องใช้หน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางหรือ Host
อุปกรณ์ในเครือข่าการ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย (Network Interface Card :NIC)
หมายถึง แผงวงจรสำหรับ ใช้ในการเชื่อมต่อสายสัญญาณของเครือข่าย ติดตั้งไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องแม่ข่าย และเครื่องที่เป็นลูกข่าย หน้าที่ของการ์ดนี้คือแปลงสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ส่งผ่านไปตามสายสัญญาณ ทให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้
รูปแสดงการ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย
องค์ประกอบของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
โมเด็ม ( Modem : Modulator Demodulator) หมายถึง อุปกรณ์สำหรับการแปลงสัญญาณดิจิตอล(Digital) จากคอมพิวเตอร์ด้านผู้ส่ง เพื่อส่งไปตามสายสัญญาณข้อมูลแบบอนาลอก(Analog) เมื่อถึงคอมพิวเตอร์ด้านผู้รับ โมเด็มก็จะทำหน้าที่แปลงสัญญาณอนาลอก ให้เป็นดิจิตอลนำเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อทำการประมวลผล โดยปกติจะใช้โมเด็มกับระบบเครือข่ายระยะไกล โดยการใชสายโทรศัพท์เป็นสื่อกลาง เช่น เครือข่ายรูปแสดงการใช้โมเด็มในการติดต่อเครือข่ายระยะไกล
ฮับ ( Hub)
คือ อุปกรณ์เชื่อมต่อที่ใช้เป็นจุดรวม และ แยกสายสัญญาณ เพื่อให้เกิดความสะดวก ในการเชื่อมต่อของเครือข่ายแบบดาว (Star) โดยปกติใช้เป็นจุดรวมการเชื่อมต่อสายสัญญาณระหว่าง File Server กับ Workstation ต่าง ๆ แสดงฮับที่ใช้เป็นจุดเชื่อมต่อและจุดแยกของสาย
ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเครือข่าย

ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเครือข่าย หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ จัดการระบบเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่ออยู่กับเครือข่าย สามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ ทำหน้าที่จัดการด้านการรักษาความปลอดภัย ของระบบเครือข่าย และยังมีหน้าที่ควบคุม การนำโปรแกรมประยุกต์ ด้านการติดต่อสื่อสาร มาทำงานในระบบเครือข่ายอีกด้วย นับว่าซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเครือข่าย มีความสำคัญต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่างยิ่ง ตัวอย่าง ซอฟต์แวร์ประเภทนี้ได้แก่ ระบบปฏิบัติการ Windows NT , Linux , Novell Netware , Windows XP ,Windows 2000 , Solaris , Unix เป็นต้น
แสดงซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเครือข่าย
โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (TOPOLOGY)
การนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกันเพื่อประโยชน์ของการสื่อสารนั้น สามารถกระทำได้หลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละแบบก็มีจุดเด่นที่แตกต่างกันไป โดยทึ่วไปแล้วโครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถจำแนกตามลักษณะของการเชื่อมต่อดังต่อไปนี้
1. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบบัส (bus topology)
โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบบัส จะประกอบด้วย สายส่งข้อมูลหลัก ที่ใช้ส่งข้อมูลภายในเครือข่าย เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง จะเชื่อมต่อเข้ากับสายข้อมูลผ่านจุดเชื่อมต่อ เมื่อมีการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องพร้อมกัน จะมีสัญญาณข้อมูลส่งไปบนสายเคเบิ้ล และมีการแบ่งเวลาการใช้สายเคเบิ้ลแต่ละเครื่อง ข้อดีของการเชื่อมต่อแบบบัส คือ ใช้สื่อนำข้อมูลน้อย ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่าย และถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเสียก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบโดยรวม แต่มีข้อเสียคือ การตรวจจุดที่มีปัญหา กระทำได้ค่อนข้างยาก และถ้ามีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมากเกินไป จะมีการส่งข้อมูลชนกันมากจนเป็นปัญหา
2. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน (ring topology)
โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน มีการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์โดยที่แต่ละการเชื่อมต่อจะมีลักษณะเป็นวงกลม การส่งข้อมูลภายในเครือข่ายนี้ก็จะเป็นวงกลมด้วยเช่นกัน ทิศทางการส่งข้อมูลจะเป็นทิศทางเดียวกันเสมอ จากเครื่องหนึ่งจนถึงปลายทาง ในกรณีที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดครื่องหนึ่งขัดข้อง การส่งข้อมูลภายในเครือข่ายชนิดนี้จะไม่สามารถทำงานต่อไปได้ ข้อดีของโครงสร้าง เครือข่ายแบบวงแหวนคือ ใช้สายเคเบิ้ลน้อย และถ้าตัดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เสียออกจากระบบ ก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบเครือข่ายนี้ และจะไม่มีการชนกันของข้อมูลที่แต่ละเครื่องส่ง
3. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว (star topolo)
โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว ภายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะต้องมีจุกศูนย์กลางในการควบคุมการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ หรือ ฮับ (hub) การสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ จะสื่อสารผ่านฮับก่อนที่จะส่งข้อมูลไปสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แบบดาวมีข้อดี คือ ถ้าต้องการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ก็สามารถทำได้ง่ายและไม่กระทบต่อเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในระบบ ส่วนข้อเสีย คือ ค่าใช้จ่ายในการใช้สายเคเบิ้ลจะค่อนข้างสูง และเมื่อฮับไม่ทำงาน การสื่อสารของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบก็จะหยุดตามไปด้วย
ที่มา